วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค



1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
            ความหมายของแท็บเล็ต
            คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คำนิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet)
            ความเป็นมาของแท็บเล็ต
          จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์มีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันมาว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้งบนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกัน ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
            แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
          การใช้แท็บเล็ตโดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตเป็นของตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าการใช้แท็บเล้ตจะเป็นแรงจูงใจของผุ้เรียนและมีผลกระทบในทางบวก ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง  สำหรับในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น การใช้แท็บเล็ตนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ
            เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตนับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสาระสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่นำมาใช้ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมจะต้องมีการวางแผนและปรับปรุงอย่างรอบคอบเพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาจะต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้สอน คือ ครู ที่จะต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
แหล่งที่มา : http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028
                  http://www.tabletd.com/articles  
                  http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282&filename=index 



2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

"สมาคมอาเซียน"
สมาคมอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศที่รวมเป็นสมาชิก คือ   ไทย มาเลย์เซีย สิงคโบร์ ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า
ความเป็นอาเซียน คือ “ หนึ่งวิสัยทัศน์หนึ่งเอกลักษณ์หนึ่งประชาคม” นี้คือ วิสัยทัศน์ของสมาคมอาเซียน
            การสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียนทางการศึกษา โดยการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับอาเซียน โดยการปฏิรูประบบกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย การจัดโครงการความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงโลก
            การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษาเพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน
ต้องมีการเตรียมเรื่องภาษาอังกฤษให้มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐานวิชาชีพนี้คือปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับครู นักเรียนนักศึกษาของไทย และสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การให้เยาวชนรู้สังคมวัฒนธรรมประชาคมอาเซียนมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ และความเคลื่อนไหวของประเทศคู่เจรจาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยการวัดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานระดับสากลจัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ปฎิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง โดยการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นส่งเสริมความรู้มายังผู้เรียนให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก
            การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง ดังนั้นการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนในยุคใหม่ภายใต้สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก เพื่อมุ่งสร้างความเป็นสังคมแห่งอาเซียน เชื่อได้ว่าสังคมไทยสามารถยกระดับการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนได้อย่างภูมิใจและมีศักดิ์ศรี
ที่มา :   บทความย่อ เรื่อง การเตรียมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภณ ใจสมัคร
             บทความเรื่อง การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน : ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ
โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ


3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกในความสามารถที่มีอยู่ให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนจนทำให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"  ซึ่งครูที่ดีจะต้องมีศรัทธาต่อลูกศิษย์ทุกคนไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือเรียนอ่อน  มีความไว้วางใจลูกศิษย์ทุกคนสามารถปรึกษาได้และครูต้องเก็บไว้เป็นความลับ  สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนและที่สำคัญครูต้องยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
            ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน ซึ่งครูจะต้องรู้จักหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ต้องรู้ทันในเหตุการณ์ปัจจุบันว่าปัจจุบันนี้หนังสืออะไรเป็นที่นิยมกันแล้วครูก็ต้องไปหามาอ่าน เพื่อจะได้มีความรู้ในการสอนเด็ก
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูจะต้องอยู่กับปัจจุบัน จะต้องทันต่อสื่อเทคโนโลยีต่างๆจะต้องมีการสอนที่แปลกใหม่และทันสมัย
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับเด็กอยู่เสมอเพื่อจะได้รู้ทันเกี่ยวกับเด็กและสามารถพูดคุยกับเด็กได้อย่างถูกต้อง
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูรู้จักการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สอนให้เด็กรู้จักเป็นผู้นำ เช่น แบ่งกลุ่มให้ทำงานแล้วให้สมาชิกในกลุ่มเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้ากลุ่มในแต่ละครั้งที่ให้ทำงานเพื่อให้ทุกคนรู้จักการเป็นผู้นำ
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม การที่เราให้เด็กรู้จักการทำงานกลุ่มจะสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการรับผิดชอบร่วมกันและความสามัคคี
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟังจะทำให้เด็กมีความรู้นอกเนื่องจากที่ครูสอน ทำให้เด็กมีความอยากรู้ อยากเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น
7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูจะต้องเป็นคนที่สอนให้เด็กรู้จักคิด สอนให้เด็กคิดเป็น ไม่ใช่ไปบอกให้เด็กรู้
แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219  

4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด   
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน    
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน        
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น    
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริงเขียนอธิบาลงในบล็อก    
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น

          ตอบ  ตลอดระยะเวลาที่ที่เรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนมา เริ่มต้นจากการสร้างบล็อกเมื่อสร้างเสร็จ อาจารย์จะเป็นผู้สั่งและมอบหมายงานลงในบล๊อกดิฉันจึงทำกิจกรรมต่างๆตามที่อาจารย์กำหนด หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่นหนังสือ อินเตอร์เน็ต ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนแล้วก็สรุปเป็นความคิดของตัวดิฉันเองจากนั้นก็อัปโหลดลงบล๊อกของดิฉัน ส่วนในเรื่องของโอกาสข้างหน้านั้นการเรียนรู้โดยการใช้บล๊อกจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงได้เร็วราวกับจรวด จึงควรภูมิใจที่ได้เรียนวิชานี้ เรียนแบบนี้เพราะเป็นสิ่งที่ดีมากในความคิดของดิฉัน เป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัยอีกทั้งในตอนนี้ต้องเตรียมตัวต้องรับประชาคมอาเซียนแล้วจึงจำเป็นอย่างมากและหากดิฉันจะไปเป็นครูก็คิดว่าคงจะมีสักครั้งที่ได้ใช้วิชาที่เรียนมาถ่ายทอดให้นักเรียนได้เรียนได้เรียนรู้หรืออาจจะประยุกต์ใช้กับการสอนในครั้งต่อไปเมื่อมีโอกาสควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร         
      ดิฉันควรจะได้ เกรด A ค่ะเพราะดิฉันเป็นคนที่ไม่เก่งทางด้านเทคโนโลยีเลยค่ะแต่มีความพยายามมากกว่าจะฝึกหัดด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ พยายามเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบข้าง ในแต่ละครั้งที่ทำกิจกรรมดิฉันสรรหาคำที่ดีคำที่ถูกต้องมากที่สุด ดิเข้าเรียนเกือบทุกครั้งมีบ้างที่ลาเพราะป่วยและทำงานส่งตามกำหนดเกือบทุกครั้ง และในการทำบล๊อกแต่ละครั้งดิฉันจะพยายามทำด้วยตัวเองจะคอยมีเพื่อนสอนแต่ดิฉันใช้ความพยายามมากเพื่อไห้ดิฉันทำบล็อกเป็นเหมือนเพื่อนค่และสรุปเป็นของตัวเองให้ได้หรือในบางครั้งที่สรุปคล้ายกันเพราะเนื้อหาที่เรียนเหมือนกันและในบางครั้งก็ต้องปรึกษากับเพื่อนๆเพื่อนเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆขึ้นมาดิ
         








การจัดห้องเรียน

ห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใสทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน

การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน ควรจัดให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
         การจัดโต๊ะครู ควรจัดให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้อง
         การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง
         การจัดสภาพห้องเรียน ต้องจัดให้ มีอากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอเหมาะ ปราศจากสิ่งรบกวน และมีความสะอาด






ครูในอุดมคติ
ครูในอุดมคติของข้าพเจ้า คือต้องเป็นนักประชาธิปไตย ครูจะต้องไม่เป็นเผด็จการ ต้องให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยยินดีรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนอย่างจริงใจและจริงจัง โดยเมื่อนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียน ครูจะให้นักเรียนได้มีความสุขในการเรียนหนังสือ ครูจะไม่สอนให้นักเรียนโตขึ้นไปเป็น เจ้าคนนายคน” แต่จะสอนให้นักเรียนโตขึ้นไป รับใช้ประชาชน” ครูจะสอนให้นักเรียนแต่ละคนรู้จักเสียสละไม่ไปแก่งแย่งชิงดีหวังเป็นที่หนึ่ง ครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักความมีเมตตากรุณา ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา และครูจะนำพาลูกศิษย์สู่ปัญญาอันมีความงาม ความดี ความจริงอยู่ด้วย

โดยครูสังคมศึกษา  จะสอนสังคมศึกษาด้วยความร่าเริง ใจดี ให้นักเรียนที่ชอบเรียน ส่วนคนที่ไม่ชอบเรียนหรือไม่เก่งนัก ครูสังคมจะเอาใจใส่ไม่ต่างกับพวกที่ชอบเรียน ครูจะรับฟังพวกเขา เป็นเพื่อนพวกเขา โดยให้การบ้านพอประมาณตามความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ ยัดเยียดการบ้าน และบังคับนักเรียนให้เก่งสังคมศึกษา



บทความเรื่อง ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
โดย ดร.สุเมธี ตันติเวชกุล
              1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานมา 30  ปีนั้น ได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดิน ทรงสอนให้เรารู้จักและเข้าใจชีวิตของตนเอง โดยพระองค์จะเป็นผู้ปกครองโดยธรรม ที่ยึดมั่นในหลักทศพิธราชธรรม และมีวิธีในการสอนของพระองค์คือการทำให้ดู หรือการสาธิต จึงเกิดโครงการต่างๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งครูในปัจจุบันก็สามารถนำแนวทางโครงการตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ มาถอดเป็นบทเรียนเพื่อใช้ได้แทบทุกวิชาเลยครับ
             2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
              ถ้าผมเป็นครู ผมจะถ่ายทอดความรู้ โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการเรียน                 การสอน  โดยผมจะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และพยายามให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนให้มาก เพื่อพัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างปกติสุข
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร  
             เมื่อดิฉันได้เป็นครูในอนาคต ผมจะนำแนวคิดนี้มาออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งดิฉันจะใช้วิธีสอนแบบสาธิต คือ การทำให้ผู้เรียนดูก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติเอง และให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่น คุณธรรม ทำแต่ความดี และอยู่อย่างมีความสุข

บทความเรื่อง  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ
โดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
               1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                         การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล    
                        สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
                   2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร 
                เมื่อดิฉันเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ครู  ผู้บริหาร  บุคลากรทางการศึกษา  และสถานศึกษา นอกจากนี้ดิฉันขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทรงงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เป็นแนวทางการพัฒนา
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร          
     ในอนาคตดิฉันคงจะได้เป็นครูผู้สอน และก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้(อย่างเข้าใจ)เป็นภาษาของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

กิจกรรมที่7

                       ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และเขียนลงในบล็อก                กิจกรรมของนักเรียน ดังนี้
 
1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
ชื่อเรื่อง สนุกกับพาราโบลา
ครูผู้สอน จักรกฤช เลื่อนกฐิน
ระดับชั้น คณิตศาสตร์ ม.4

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
-นิยาม สมการ และส่วนประกอบต่างๆ ของพาราโบลา

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
สติปัญญา
-สิ่งที่นักเรียนได้รู้ คือ ครู
-ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
-สอนโดยการนำเกมเข้ามาใช้ ซึ่งเกมนั้นจะสอดแทรกเกี่ยวกับเนื้อหา
อารมณ์
-นักเรียนมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส่ มีเสียงหัวเราะ
-เด็กมีสมาธิในการเรียน
คุณธรรมจริยธรรม
-เด็กให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและในชั้นเรียน
-เมื่อครูให้ออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องนักเรียนให้ความร่วมมือดี ไม่เกี่ยงกันออกไปทำ
-มีความสามัคคี โดยการเล่นเกมโดยเป็นทีม
-รู้จักการทำงานเป็นทีม

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศในห้องเรียนเป็นบรรยากาศที่สนุกสนานมาก น่าเรียน สีหน้าของนักเรียนดูสดชื่น แจ่มใส นักเรียนมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ นักเรียนสนใจสิ่งที่ครูสอน ครูเป็นกันเองกับนักเรียน

กิจกรรมที่ 6

ภัยพิบัติเกิดขึ้นทุกวันเราทุกคนต้องตระหนักและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ทำลายไม่อย่างนั้นสิ่งแวดล้อมก็จะกลับมาทำลายเรา

กิจกรรมที่ 5


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นาง นุชนาถ  นามสกุล  คงแก้ว
สัญชาติ  ไทย       เชื้อชาติ  ไทย       ศาสนา  พุทธ
เกิดวันที่  25  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.2501  เกษียณอายุราชการปี  30  กันยายน  พ.ศ.2562
ภูมิลำเนาบ้านเลขที่  70/2  หมู่ที่  5  ต.ควนหนองหงส์ อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช  80110
ชื่อบิดา                  นายประทีป   คงแก้ว                  อาชีพ     ทำสวน
ชื่อมารดา              นางวิภา      คงแก้ว                      อาชีพ     ทำสวน
เริ่มรับราชการ  /  ทำงานตำแหน่ง  ครู  2  ระดับ  /  ขั้น  1,950  บาท
โรงเรียนก้างปลาวิทยาคม  ต.ที่วัง  อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช
สังกัดกอง  การมัธยม  กรม  สามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่  20  พฤศจิกายน  พ.ศ.2523  อายุ  21  ปี  11  เดือน  12  วัน
ความสามารถพิเศษ
1.                 มีความสามารถในการทำงานดอกไม้สดและทำเป็นอาชีพเสริม
2.                มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พอสมควร

ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี            สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช      2538
ป.กศ.สูง                วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช             2522
ป.กศ                      วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช             2520
ม.ศ.3                     โรงเรียนสตรีทุ่งสง                             2518
ป.4                         โรงเรียนวัดโคกสะท้อน                   2512

ประวัติการรับราชการ  /  ทำงาน
20  พฤศจิกายน  2523  -  11  มกราคม  2529             ตำแหน่ง  ครู  2  โรงเรียนบ้านคอกช้าง
1  พฤษภาคม  2529  -  ปัจจุบัน                                      ตำแหน่ง  ครู  โรงเรียนบ้านน้ำตก

ความภาคภูมิใจ
ปี  2553                                
ผ่านการประเมินครูดีเด่น  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  (คหกรรม)
วันที่  17  สิงหาคม  2545                
ผ่านการประเมิน  เป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ของกรมสามัญศึกษา  ปี  2545 รับเกียรติบัตร  และเข็มเชิดชูเกียรติ  ณ  อาคารอารีน่า  ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอิมแพ็คเมืองทองธานี  จ.  นนทบุรี
วันที่  1  สิงหาคม  2545                  
ผ่านการประเมิน  เป็นครูดีเด่น  สาขางานประดิษฐ์  รับเกียรติบัตร  เนื่อง
ในงานวันมัธยมศึกษาครั้งที่  15  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ณ  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ผ่านการประเมิน  เป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ของกรมสามัญศึกษา  ปี  2545  รับเกียรติบัตร  เนื่องในงานวันมัธยมศึกษาครั้งที่  15  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ณ  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ปี  2543                                                
เป็นครูแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้ของกรมสามัญศึกษา  ปี  2543
ผลงานที่ปรากฏ
ปี  2553                 สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม   “งานร้อยมาลัย”
ปี  2552                 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  มอบเกียรติบัตร
ครูผู้สอน  “มาลัยดอกไม้สด”  และได้รับรางวัลระดับยอดเยี่ยม
ปี  2552                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต  4  ร่วมกับโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
มอบเกียรติบัตรคัดเลือกเป็นครูจัดการเรียนรู้ตามระบบการเรียนรู้ดีเด่น
ปี  2551                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต  4  มอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ
เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับช่วงชั้น  3-4  ดีเด่น
ปี  2551                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต  4  ร่วมกับโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
มอบเกียรติบัตรคัดเลือกเป็นครูจัดการเรียนรู้ดีเด่นประจำปีการศึกษา  2550
ปี  2549                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต  4  มอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ
ผ่านการประเมินเป็นครูผู้สอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับคุณภาพดีเด่น               
ผลงานที่เกิดกับนักเรียน
ด้านความรู้            จากการที่ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะปฏิบัติบ่อย ๆ  นักเรียนมีความรู้  มีทักษะ  มีประสบการณ์ 
ในการทำงานและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบเป็นอาชีพเสริม
ได้
ด้านเศรษฐกิจ       นักเรียนนำความรู้  ทักษะที่ได้รับ  รับร้อยมาลัยในชุมชนทำให้มีรายได้เสริมให้กับ
ครอบครัวของนักเรียน
ผลที่เกิดกับครู
ครูมีความภาคภูมิใจกับผลงานของนักเรียน  ในด้านผลการแข่งขันและผลงานด้านอาชีพ  และการได้ช่วยเหลือในการจัดตกแต่งสถานที่ในการจัดงานในชุมชนต่าง ๆ