1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
ความหมายของแท็บเล็ต
คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คำนิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet)
ความเป็นมาของแท็บเล็ต
จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์มีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันมาว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้งบนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกัน 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
การใช้แท็บเล็ตโดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตเป็นของตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าการใช้แท็บเล้ตจะเป็นแรงจูงใจของผุ้เรียนและมีผลกระทบในทางบวก ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง สำหรับในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น การใช้แท็บเล็ตนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตนับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสาระสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่นำมาใช้ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมจะต้องมีการวางแผนและปรับปรุงอย่างรอบคอบเพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาจะต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้สอน คือ ครู ที่จะต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
แหล่งที่มา : http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028
http://www.tabletd.com/articles
http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282&filename=index
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
"สมาคมอาเซียน"
สมาคมอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศที่รวมเป็นสมาชิก คือ ไทย มาเลย์เซีย สิงคโบร์ ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า
ความเป็นอาเซียน คือ “ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม” นี้คือ วิสัยทัศน์ของสมาคมอาเซียน
การสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียนทางการศึกษา โดยการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับอาเซียน โดยการปฏิรูประบบกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย การจัดโครงการความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงโลก
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษาเพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน
ต้องมีการเตรียมเรื่องภาษาอังกฤษให้มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐานวิชาชีพนี้คือปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับครู นักเรียนนักศึกษาของไทย และสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การให้เยาวชนรู้สังคมวัฒนธรรมประชาคมอาเซียนมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ และความเคลื่อนไหวของประเทศคู่เจรจาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยการวัดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานระดับสากลจัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ปฎิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง โดยการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นส่งเสริมความรู้มายังผู้เรียนให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก
การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง ดังนั้นการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนในยุคใหม่ภายใต้สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก เพื่อมุ่งสร้างความเป็นสังคมแห่งอาเซียน เชื่อได้ว่าสังคมไทยสามารถยกระดับการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนได้อย่างภูมิใจและมีศักดิ์ศรี
ที่มา : บทความย่อ เรื่อง การเตรียมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภณ ใจสมัคร
บทความเรื่อง การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน : ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ
โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกในความสามารถที่มีอยู่ให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนจนทำให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้" ซึ่งครูที่ดีจะต้องมีศรัทธาต่อลูกศิษย์ทุกคนไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือเรียนอ่อน มีความไว้วางใจลูกศิษย์ทุกคนสามารถปรึกษาได้และครูต้องเก็บไว้เป็นความลับ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนและที่สำคัญครูต้องยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน ซึ่งครูจะต้องรู้จักหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ต้องรู้ทันในเหตุการณ์ปัจจุบันว่าปัจจุบันนี้หนังสืออะไรเป็นที่นิยมกันแล้วครูก็ต้องไปหามาอ่าน เพื่อจะได้มีความรู้ในการสอนเด็ก
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูจะต้องอยู่กับปัจจุบัน จะต้องทันต่อสื่อเทคโนโลยีต่างๆจะต้องมีการสอนที่แปลกใหม่และทันสมัย
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับเด็กอยู่เสมอเพื่อจะได้รู้ทันเกี่ยวกับเด็กและสามารถพูดคุยกับเด็กได้อย่างถูกต้อง
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูรู้จักการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สอนให้เด็กรู้จักเป็นผู้นำ เช่น แบ่งกลุ่มให้ทำงานแล้วให้สมาชิกในกลุ่มเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้ากลุ่มในแต่ละครั้งที่ให้ทำงานเพื่อให้ทุกคนรู้จักการเป็นผู้นำ
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม การที่เราให้เด็กรู้จักการทำงานกลุ่มจะสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการรับผิดชอบร่วมกันและความสามัคคี
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟังจะทำให้เด็กมีความรู้นอกเนื่องจากที่ครูสอน ทำให้เด็กมีความอยากรู้ อยากเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น
7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูจะต้องเป็นคนที่สอนให้เด็กรู้จักคิด สอนให้เด็กคิดเป็น ไม่ใช่ไปบอกให้เด็กรู้
แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริงเขียนอธิบาลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
ตอบ ตลอดระยะเวลาที่ที่เรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนมา เริ่มต้นจากการสร้างบล็อกเมื่อสร้างเสร็จ อาจารย์จะเป็นผู้สั่งและมอบหมายงานลงในบล๊อกดิฉันจึงทำกิจกรรมต่างๆตามที่อาจารย์กำหนด หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่นหนังสือ อินเตอร์เน็ต ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนแล้วก็สรุปเป็นความคิดของตัวดิฉันเองจากนั้นก็อัปโหลดลงบล๊อกของดิฉัน ส่วนในเรื่องของโอกาสข้างหน้านั้นการเรียนรู้โดยการใช้บล๊อกจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงได้เร็วราวกับจรวด จึงควรภูมิใจที่ได้เรียนวิชานี้ เรียนแบบนี้เพราะเป็นสิ่งที่ดีมากในความคิดของดิฉัน เป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัยอีกทั้งในตอนนี้ต้องเตรียมตัวต้องรับประชาคมอาเซียนแล้วจึงจำเป็นอย่างมากและหากดิฉันจะไปเป็นครูก็คิดว่าคงจะมีสักครั้งที่ได้ใช้วิชาที่เรียนมาถ่ายทอดให้นักเรียนได้เรียนได้เรียนรู้หรืออาจจะประยุกต์ใช้กับการสอนในครั้งต่อไปเมื่อมีโอกาสควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร
ดิฉันควรจะได้ เกรด A ค่ะเพราะดิฉันเป็นคนที่ไม่เก่งทางด้านเทคโนโลยีเลยค่ะแต่มีความพยายามมากกว่าจะฝึกหัดด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ พยายามเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบข้าง ในแต่ละครั้งที่ทำกิจกรรมดิฉันสรรหาคำที่ดีคำที่ถูกต้องมากที่สุด ดิเข้าเรียนเกือบทุกครั้งมีบ้างที่ลาเพราะป่วยและทำงานส่งตามกำหนดเกือบทุกครั้ง และในการทำบล๊อกแต่ละครั้งดิฉันจะพยายามทำด้วยตัวเองจะคอยมีเพื่อนสอนแต่ดิฉันใช้ความพยายามมากเพื่อไห้ดิฉันทำบล็อกเป็นเหมือนเพื่อนค่และสรุปเป็นของตัวเองให้ได้หรือในบางครั้งที่สรุปคล้ายกันเพราะเนื้อหาที่เรียนเหมือนกันและในบางครั้งก็ต้องปรึกษากับเพื่อนๆเพื่อนเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆขึ้นมาดิ