วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3




1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียนเตรียมการสอนในยุคศตรรษวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
 การจัดชั้นเรียนเตรียมการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่เพราะปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท รวมถึงนวัตกรรมที่ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ ทำให้สะดวกในการสอนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนและยังมีอุปกรณ์การเรียนที่พัฒนาขึ้น ทุกคนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องให้ครูชี้แนะทุกตัวอักษรแต่ถึงอย่างนั้นแล้วหลักสูตรก็ควรมีเนื้อหาที่เหมาะสมและหลากหลายเพื่อก้าวทันโลกสมัยรวมถึงวิธการสอนเน้นทั้งความบันเทิงและความมีสาระเข้าช่วย แต่ก็รวมไปถึงความมีระเบียบวินัยในสังคมด้วย
เปรียบเทียบกับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 แต่ก่อนนั้น เป็นยุคที่ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นแต่ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว ต้องให้ครูหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นคนสอน ทำให้มนุษย์ไม่รู้จักการเรียนรูด้วยตนเอง กลับมองว่าผู้ที่จดจำได้มากเป็นผู้ที่สามารถเรียนได้ดีมากกว่าการเข้าใจในเนื้อหา
2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้า ให้สรุปแนวคิดของนักศึกษา
ตอบ
 ในแนวคิดของฉันการเป็นครูไม่ได้เป็นเรื่องง่ายสักเท่าไหร่ เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยทำให้เราต้องก้าวทันโลกไปตาม ๆกันในแนวคิดของฉันการเตรียมตัวมีดังนี้
1.ถามตัวเองว่าเรารักในอาชีพครูหรือเปล่า

2.ความรู้ที่มีมากพอที่จะไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์แล้วหรือยัง

3.การวางแผนการสอนไม่ว่าจะเป็น สื่อ นวัตกรรมที่นำมาเป็นสื่อการสอนครบถ้วนสมบูรณ์

4.วิธีการสอนไม่ควรเป็นวิธีที่น่าเบื่อเพราะจะทำให้นักเรียนไม่สนใจเรียน ส่งผลต่อการเรียนนักเรียนด้วย

5.ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

6. ที่สำคัญก้าวทันโลก และยุคสมัย เทคโนโลยีต่างๆ จัดทำสื่อที่น่าสนใจเป็น

7. มีประสบการณ์ในชีวิตรอบด้าน

8. มีความยุติธรรม มีระเบียบวินัย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู


กิจกรรมที่ 2

           มาสโลว์ ได้คิดค้นทฤษฎีทีมีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ หมายถึง ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี
 Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
ทฤษฎี Z บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า การจ้างงานตลอดชีวิต
Henry Fayol บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1.
 การวางแผน
2. การจัดองค์การ
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ
4. การประสานงาน
5. การควบคุม
อังริ ฟาโยล นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสได้นำเสนอหลักการที่เขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ มีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ แมกซ์ เวเบอร์ เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การไว้ 6 ประการ ดังนี้คือ
1.
 องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ

2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก หรือพูดให้ง่าย ๆ ก็ต้องบอกว่าปัจจัยภายนอกจะทำให้คนพึงพอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก ส่วนปัจจัยภายในจะก่อให้เกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก
                                  

กิจกรรมที่ 1

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

ความหมายของคำว่า การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา
การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษา หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ให้มีความเจริญในตัวบุคคลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
การบริหารการศึกษา หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี โดยดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคม

แนะนำตัวเอง

แนะนำตนเอง


ชื่อ  :  นางสาวนุชธิดา  รอดบุตร  ชื่อเล่น :  นู๋ตาล 

รหัสนักศึกษา  :  5311116194

สาขาวิชา  :  สังคมศึกษา  กลุ่มเรียน 04
                    คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

วัเกิด :  25 เมษายน  2534 อายุ  21ปี

สัญชาติ  :   ไทย

ศานา  :   พุทธ

การศึกษา   - ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา   จบจากโรงเรียนบ้านน้ำตก
                   -ระดับมัธยมปลาย  จบจากวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง
                   -ระดับปริญญาตรีกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรสังคมศึกษา  ชั้นปีที่3

คติประจำใจ
    -ความพยายมอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น

งานอดิเรก
    -ฟังเพลง

ดูหนัง
    -ทำการบ้าน
    -ความฝัน
    -อยากเรียนจบค่ะ เป็นความหวังของพ่อแม่ค่